วันพุธที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2556

ดนตรีเกาหลี


ดนตรีและนาฏศิลป์เป็นวิธีบวงสรวงในศาสนาและธรรมเนียมประเพณีสืบเนื่องมาตลอดยุคสามอาณาจักร  เครื่องดนตรีมากกว่า  30 ชนิดใช้ระหว่างยุคสามอาณาจักร  โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่น่าจดจำ คือ  เฮียนฮักกึม (ขิมนกกระเรียนดำ)  ซึ่ง  วาง ซัน-อัก  แห่ง โกกุริว  ประดิษฐ์ขึ้นโดยการประยุกต์ขิมเจ็ดสายของราชวงศ์จินของจีน  เครื่องดนตรีที่มีชื่อเสียงอีกอย่างหนึ่ง  คือ  กายากึม (ขิม กายา)  ซึ่งใช้ในสมัยกายา (ช่วง  42 – 562 ) นำมาจากชิลลาโดย  อูรึก  กายากึม  12  สาย  ยังคงเล่นกันในดนตรีเกาหลีสมัยใหม่

โกคูรยอมีธรรมเนียมด้านดนตรีตามอย่างซิลลาในระยะแรก  แต่มีการเปลี่ยนแปลงหลายแนวในเวลาต่อมา  ในสมัยโกคูรยอมีดนตรี  3  ประเภท  คือ  ดังกัก  หมายถึงดนตรจากราชวงศ์ถังของจีน  เฮียนกัก หรือดนตรีหมู่บ้าน  และอัก  หรือดนตรีในราชสำนัก  ดนตรีโกคูรยอบางชิ้นได้รับการตกทอดมาจากโชซอนและยังคงเล่นในงานพิธีต่าง ๆ อยู่จนทุกวันนี้  โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพิธีเคารพบรรพบุรุษ  ในทางดนตรีและนาฏศิลป์ดั้งเดิมของยุคสามอาณาจักรรุ่งเรืองในสมัยโกคูรยอระยะแรก  แต่ต่อมามีการผสมผสาน  ความหลากหลายด้วยการนำเอานาฏศิลป์ของราชสำนักและศาสนาจากราชวงศ์ซ้องของจีนเบื้องต้นเข้ามาด้วย  ระหว่างยุคราชวงศ์โชซอน  ดนตรีถือกันว่าเป็นส่วนประกอบที่สำคัญในการทำพิธีในศาสนา  และการประกอบพิธีต่าง ๆ ตอนต้นของราชวงศ์  มีการก่อตั้งหน่วยงานสองแห่งที่ทำหน้าที่ด้านดนตรีและพยายามที่จะจัดและปรับปรุงตำราด้านดนตรี  เป็นผลทำให้เกิดกฎด้านดนตรีซึ่งเรียกว่า  อักฮัมกวีบึม  เกิดขึ้นเมื่อ ปี  1493
หนังสือเล่มนี้แบ่งประเภทของดนตรีที่เล่นในราชสำนักออกเป็น 3 ประเภท  คือ  ดนตรีสำหรับการประกอบพิธี  ดนตรีของจีนและเพลงของพื้นเมืองดั้งเดิม  โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรัชสมัยของพระเจ้าเซจง  โน้ตเพลงสำหรับเครื่องดนตรีได้รับการพัฒนาขึ้นใหม่นอกจากดนตรีในราชสำนัก  เช่น  ดันกัก   และ ฮยังกัก  ก็มีการสืบเนื่องต่อมา  นาฏศิลป์พื้นบ้าน  รวมถึงระบำของชาวนา  ระบำของหมอผีและระบำของพระ  กลายเป็นที่นิยมกันในสมัยของโชซอน  รวมทั้งระบำใส่หน้ากากซึ่งเป็นที่รู้จักกันว่า  ซันแดโนริและระบำหุ่น  ระบำใส่หน้ากากเป็นการผสมผสานระหว่างการเต้นและการเล่าเรื่อง  รวมทั้งมีเรื่องราวของการเข้าทรง  จึงเข้าถึงชนชั้นระดับล่างได้มาก  การแสดงนี้มักจะเน้นเสียงโดยการเปลี่ยนเสียงล้อเลียนเสียดสีพวกผู้ดี  ซึ่งผู้ชมที่เป็นชาวบ้านจะชื่นชอบมาก  นาฏศิลป์แบบดั้งเดิมจะได้รับอิทธิพลจากลัทธิขงจื๊อและพระพุทธศาสนา  อิทธิพลจากลัทธิขงจื๊อมักจะถูกระงับในขณะที่พระพุทธศาสนาได้รับการอนุญาตให้แสดงในนาฏศิลป์ของราชสำนักที่สวยงาม  และระบำของหมอผีในงานศพ  นาฏศิลป์ดั้งเดิมจำนวนมากถูกยกเลิกไประหว่างญี่ปุ่นเข้าครอบครองเกาหลีเป็นอาณานิคม  เช่นเดียวกับการพัฒนาอุตสาหกรรม  และการขยายเมืองที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วของเกาหลีในทศวรรษที่  1960  และ  1970  ในทศวรรษที่  1980  ประชาชนเริ่มคิดที่จะฟื้นฟูนาฏศิลป์ที่ถูกลืมไปเป็นเวลานานให้กลับคืนมา  มีนาฏศิลป์ต้นแบบ  56  ชุด  แต่ทุกวันนี้มีจำนวนเล็กน้อยเท่านั้นที่เป็นที่รู้จัก  นาฏศิลป์เหล่านี้รวมถึง  ชูยองมู (ระบำหน้ากาก)  ของซิลลา ฮักมู (ระบำนกกระเรียน)  ยุคโกคูรยอ และชูแนงชอน (ระบำนกไนติงเกลที่ร้องเพลงในฤดูใบไม้ผลิ)  ยุคโชซอน  ระบำทั้งหมดนี้อยู่ในชุด “มรดกทางวัฒนธรรม”  โดยรัฐบาลอุปถัมภ์นักแสดงมืออาชีพด้วย  “ปูชนียบุคคลด้านวัฒนธรรม”  ซึ่งเป็นเกียรติอย่างสูงสุดสำหรับผู้สร้างสรรค์ผลงานทางด้านศิลปะและงานฝีมือ   มีการพัฒนานาฏศิลป์สมัยใหม่ในเกาหลีอย่างกว้างขวาง  โจ แทก-วอน และชอย ซึง-ฮี  เป็นผู้ริเริ่มในช่วงที่ตกเป็นอาณานิคมของญี่ปุ่น  ต่อมาในยุคที่ได้รับอิสรภาพ  บริษัทโซลบัลเลต์  ได้ก่อตั้งขึ้นในปี  1950  และกลายเป็นองค์กรแรกที่จัดแสดงบัลเลต์และการเต้นรำสมัยใหม่
ในปี  1893  ดนตรีตะวันตกเข้ามาในเกาหลีพร้อมกับเพลงสวดคริสต์ศาสนาและเริ่มสอนในโรงเรียนเมื่อปี  1904  ชังกา  เป็นเพลงร้องสมัยใหม่ตามแนวตะวันตก  และการตกเป็นอาณานิคมของญี่ปุ่นเป็นเวลานาน  เพลบงชักกาจัง  มีเนื้อร้องที่แสดงถึงความรักชาติเกาหลี  จิตวิญญาณความเป็นเอกราช  การศึกษาและวัฒนธรรมใหม่  ในปี  1919  ฮัง  นัน-ปา  แต่งเพลง  บองซอนฮวา  (Touch – me – not)  ในรูแบบของเพลงซังกา  หลังจากเกาหลีได้รับอิสรภาพในปี  1945  วงดนตรีออเคสตราแบบตะวันตกของเกาหลีมีวงออร์เคสตราโกเรีย  ฟิลฮาร์โมนิค  โซไซตีทุกวันนี้  มีวงออร์เคสตราเกือบ  50  วงทั้งในกรุงโซล  และในต่างจังหวัด  นักดนตรีเกาหลีจำนวนมากที่ออกไปแสดงนอกประเทศ  ได้รับการต้อนรับจากผู้ชมคอนเสิร์ตและรับรางวัลจากการแข่งขันระหว่างประเทศ    วงดนตรีที่มีชื่อเสียงที่สุด  คือ  วงซุง ทริโอ     ผู้ควบคุมวงและผู้เล่นเปีย

ชุง  มยอง-ฮวุน    ชุง มยอง-ฮวา  ผู้เล่นเชลโล และชุงคยอน  ผู้เล่นไวโอลิน  นักร้องเสียงโซปราโน  ได้แก่  ซู-มิ ชิน ยัง-ออก และ  ฮง  ไฮ- กยอง  ซึ่งทุกคนได้แสดงเป็นที่น่าประทับใจในวงการดนตรีนานาชาติและมีบทบาท เป็นผู้นำในการจัดแสดงที่โอเปราแห่งนิวยอร์กและการแสดงบนเวทีตามสถานที่ต่าง ๆ ที่เป็นที่รู้จักกันดี  นอกจากนี้  ยังมีการบันทึกเสียงกับบริษัทดนตรีที่มีชื่อเสียงด้วย  เมื่อสิงหาคมปี 1997  “เดอะ ลาส  เอมเพรส”  (The Last Empress)  เป็นดนตรีที่บรรยายถึงช่วงระยะสุดท้ายของพระมหากษัตริย์  และจักรพรรดินีเมียงเซียงของเกาหลี  ซึ่งจัดแสดงที่นิวยอร์กได้รับการต้อนรับอย่างกว้างขวางทางสื่อมวลชนอเมริกัน  เป็นการนำเนอเรื่องเล่าผ่านดนตรี  แสดงถึงความกล้าหาญมีจุดมุ่งหมายที่จะเสนอโอกาสที่มีค่าด้วยเรื่องราวประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมเกาหลีให้แก่คนอเมริกันโดยเฉพาะอย่างยิ่งคนอเมริกัน – เกาหลี  เพื่อเป็นการสงวนรักษาและพัฒนาศิลปการแสดง  และดนตรีของเกาหลีให้ความเจริญต่อไป  ศูนย์ศิลปการแสดงประเพณีแห่งชาติเกาหลีได้จัดตั้งขึ้นเมื่อปี 1951  รัฐบาลได้จัดตั้งมหาวิทยาลัยศิลปะแห่งชาติเกาหลีขึ้นในปี  1993  เพื่อเปิดสอนทางด้านศิลปะและอบรมฝึกฝนศิลปินอาชีพในระดับโลก  มหาวิทยาลัยนี้มี  6  สถาบัน  คือ  ดนตรี  ละคร นาฏศิลป์  ทัศนศิลป์ ภาพยนตร์และสื่อประสม  และศิลปะพื้นบ้านเกาหลี  สถาบันดนตรีและนาฏศิลป์ตั้งอยู่ที่  เซียวโช-ดอง  ส่วนสถาบันอื่น ๆ อยู่ที่  ซอกกวาน-ดอง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น