วันพุธที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2556

ดนตรีเกาหลี


ดนตรีและนาฏศิลป์เป็นวิธีบวงสรวงในศาสนาและธรรมเนียมประเพณีสืบเนื่องมาตลอดยุคสามอาณาจักร  เครื่องดนตรีมากกว่า  30 ชนิดใช้ระหว่างยุคสามอาณาจักร  โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่น่าจดจำ คือ  เฮียนฮักกึม (ขิมนกกระเรียนดำ)  ซึ่ง  วาง ซัน-อัก  แห่ง โกกุริว  ประดิษฐ์ขึ้นโดยการประยุกต์ขิมเจ็ดสายของราชวงศ์จินของจีน  เครื่องดนตรีที่มีชื่อเสียงอีกอย่างหนึ่ง  คือ  กายากึม (ขิม กายา)  ซึ่งใช้ในสมัยกายา (ช่วง  42 – 562 ) นำมาจากชิลลาโดย  อูรึก  กายากึม  12  สาย  ยังคงเล่นกันในดนตรีเกาหลีสมัยใหม่

โกคูรยอมีธรรมเนียมด้านดนตรีตามอย่างซิลลาในระยะแรก  แต่มีการเปลี่ยนแปลงหลายแนวในเวลาต่อมา  ในสมัยโกคูรยอมีดนตรี  3  ประเภท  คือ  ดังกัก  หมายถึงดนตรจากราชวงศ์ถังของจีน  เฮียนกัก หรือดนตรีหมู่บ้าน  และอัก  หรือดนตรีในราชสำนัก  ดนตรีโกคูรยอบางชิ้นได้รับการตกทอดมาจากโชซอนและยังคงเล่นในงานพิธีต่าง ๆ อยู่จนทุกวันนี้  โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพิธีเคารพบรรพบุรุษ  ในทางดนตรีและนาฏศิลป์ดั้งเดิมของยุคสามอาณาจักรรุ่งเรืองในสมัยโกคูรยอระยะแรก  แต่ต่อมามีการผสมผสาน  ความหลากหลายด้วยการนำเอานาฏศิลป์ของราชสำนักและศาสนาจากราชวงศ์ซ้องของจีนเบื้องต้นเข้ามาด้วย  ระหว่างยุคราชวงศ์โชซอน  ดนตรีถือกันว่าเป็นส่วนประกอบที่สำคัญในการทำพิธีในศาสนา  และการประกอบพิธีต่าง ๆ ตอนต้นของราชวงศ์  มีการก่อตั้งหน่วยงานสองแห่งที่ทำหน้าที่ด้านดนตรีและพยายามที่จะจัดและปรับปรุงตำราด้านดนตรี  เป็นผลทำให้เกิดกฎด้านดนตรีซึ่งเรียกว่า  อักฮัมกวีบึม  เกิดขึ้นเมื่อ ปี  1493
หนังสือเล่มนี้แบ่งประเภทของดนตรีที่เล่นในราชสำนักออกเป็น 3 ประเภท  คือ  ดนตรีสำหรับการประกอบพิธี  ดนตรีของจีนและเพลงของพื้นเมืองดั้งเดิม  โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรัชสมัยของพระเจ้าเซจง  โน้ตเพลงสำหรับเครื่องดนตรีได้รับการพัฒนาขึ้นใหม่นอกจากดนตรีในราชสำนัก  เช่น  ดันกัก   และ ฮยังกัก  ก็มีการสืบเนื่องต่อมา  นาฏศิลป์พื้นบ้าน  รวมถึงระบำของชาวนา  ระบำของหมอผีและระบำของพระ  กลายเป็นที่นิยมกันในสมัยของโชซอน  รวมทั้งระบำใส่หน้ากากซึ่งเป็นที่รู้จักกันว่า  ซันแดโนริและระบำหุ่น  ระบำใส่หน้ากากเป็นการผสมผสานระหว่างการเต้นและการเล่าเรื่อง  รวมทั้งมีเรื่องราวของการเข้าทรง  จึงเข้าถึงชนชั้นระดับล่างได้มาก  การแสดงนี้มักจะเน้นเสียงโดยการเปลี่ยนเสียงล้อเลียนเสียดสีพวกผู้ดี  ซึ่งผู้ชมที่เป็นชาวบ้านจะชื่นชอบมาก  นาฏศิลป์แบบดั้งเดิมจะได้รับอิทธิพลจากลัทธิขงจื๊อและพระพุทธศาสนา  อิทธิพลจากลัทธิขงจื๊อมักจะถูกระงับในขณะที่พระพุทธศาสนาได้รับการอนุญาตให้แสดงในนาฏศิลป์ของราชสำนักที่สวยงาม  และระบำของหมอผีในงานศพ  นาฏศิลป์ดั้งเดิมจำนวนมากถูกยกเลิกไประหว่างญี่ปุ่นเข้าครอบครองเกาหลีเป็นอาณานิคม  เช่นเดียวกับการพัฒนาอุตสาหกรรม  และการขยายเมืองที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วของเกาหลีในทศวรรษที่  1960  และ  1970  ในทศวรรษที่  1980  ประชาชนเริ่มคิดที่จะฟื้นฟูนาฏศิลป์ที่ถูกลืมไปเป็นเวลานานให้กลับคืนมา  มีนาฏศิลป์ต้นแบบ  56  ชุด  แต่ทุกวันนี้มีจำนวนเล็กน้อยเท่านั้นที่เป็นที่รู้จัก  นาฏศิลป์เหล่านี้รวมถึง  ชูยองมู (ระบำหน้ากาก)  ของซิลลา ฮักมู (ระบำนกกระเรียน)  ยุคโกคูรยอ และชูแนงชอน (ระบำนกไนติงเกลที่ร้องเพลงในฤดูใบไม้ผลิ)  ยุคโชซอน  ระบำทั้งหมดนี้อยู่ในชุด “มรดกทางวัฒนธรรม”  โดยรัฐบาลอุปถัมภ์นักแสดงมืออาชีพด้วย  “ปูชนียบุคคลด้านวัฒนธรรม”  ซึ่งเป็นเกียรติอย่างสูงสุดสำหรับผู้สร้างสรรค์ผลงานทางด้านศิลปะและงานฝีมือ   มีการพัฒนานาฏศิลป์สมัยใหม่ในเกาหลีอย่างกว้างขวาง  โจ แทก-วอน และชอย ซึง-ฮี  เป็นผู้ริเริ่มในช่วงที่ตกเป็นอาณานิคมของญี่ปุ่น  ต่อมาในยุคที่ได้รับอิสรภาพ  บริษัทโซลบัลเลต์  ได้ก่อตั้งขึ้นในปี  1950  และกลายเป็นองค์กรแรกที่จัดแสดงบัลเลต์และการเต้นรำสมัยใหม่
ในปี  1893  ดนตรีตะวันตกเข้ามาในเกาหลีพร้อมกับเพลงสวดคริสต์ศาสนาและเริ่มสอนในโรงเรียนเมื่อปี  1904  ชังกา  เป็นเพลงร้องสมัยใหม่ตามแนวตะวันตก  และการตกเป็นอาณานิคมของญี่ปุ่นเป็นเวลานาน  เพลบงชักกาจัง  มีเนื้อร้องที่แสดงถึงความรักชาติเกาหลี  จิตวิญญาณความเป็นเอกราช  การศึกษาและวัฒนธรรมใหม่  ในปี  1919  ฮัง  นัน-ปา  แต่งเพลง  บองซอนฮวา  (Touch – me – not)  ในรูแบบของเพลงซังกา  หลังจากเกาหลีได้รับอิสรภาพในปี  1945  วงดนตรีออเคสตราแบบตะวันตกของเกาหลีมีวงออร์เคสตราโกเรีย  ฟิลฮาร์โมนิค  โซไซตีทุกวันนี้  มีวงออร์เคสตราเกือบ  50  วงทั้งในกรุงโซล  และในต่างจังหวัด  นักดนตรีเกาหลีจำนวนมากที่ออกไปแสดงนอกประเทศ  ได้รับการต้อนรับจากผู้ชมคอนเสิร์ตและรับรางวัลจากการแข่งขันระหว่างประเทศ    วงดนตรีที่มีชื่อเสียงที่สุด  คือ  วงซุง ทริโอ     ผู้ควบคุมวงและผู้เล่นเปีย

ชุง  มยอง-ฮวุน    ชุง มยอง-ฮวา  ผู้เล่นเชลโล และชุงคยอน  ผู้เล่นไวโอลิน  นักร้องเสียงโซปราโน  ได้แก่  ซู-มิ ชิน ยัง-ออก และ  ฮง  ไฮ- กยอง  ซึ่งทุกคนได้แสดงเป็นที่น่าประทับใจในวงการดนตรีนานาชาติและมีบทบาท เป็นผู้นำในการจัดแสดงที่โอเปราแห่งนิวยอร์กและการแสดงบนเวทีตามสถานที่ต่าง ๆ ที่เป็นที่รู้จักกันดี  นอกจากนี้  ยังมีการบันทึกเสียงกับบริษัทดนตรีที่มีชื่อเสียงด้วย  เมื่อสิงหาคมปี 1997  “เดอะ ลาส  เอมเพรส”  (The Last Empress)  เป็นดนตรีที่บรรยายถึงช่วงระยะสุดท้ายของพระมหากษัตริย์  และจักรพรรดินีเมียงเซียงของเกาหลี  ซึ่งจัดแสดงที่นิวยอร์กได้รับการต้อนรับอย่างกว้างขวางทางสื่อมวลชนอเมริกัน  เป็นการนำเนอเรื่องเล่าผ่านดนตรี  แสดงถึงความกล้าหาญมีจุดมุ่งหมายที่จะเสนอโอกาสที่มีค่าด้วยเรื่องราวประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมเกาหลีให้แก่คนอเมริกันโดยเฉพาะอย่างยิ่งคนอเมริกัน – เกาหลี  เพื่อเป็นการสงวนรักษาและพัฒนาศิลปการแสดง  และดนตรีของเกาหลีให้ความเจริญต่อไป  ศูนย์ศิลปการแสดงประเพณีแห่งชาติเกาหลีได้จัดตั้งขึ้นเมื่อปี 1951  รัฐบาลได้จัดตั้งมหาวิทยาลัยศิลปะแห่งชาติเกาหลีขึ้นในปี  1993  เพื่อเปิดสอนทางด้านศิลปะและอบรมฝึกฝนศิลปินอาชีพในระดับโลก  มหาวิทยาลัยนี้มี  6  สถาบัน  คือ  ดนตรี  ละคร นาฏศิลป์  ทัศนศิลป์ ภาพยนตร์และสื่อประสม  และศิลปะพื้นบ้านเกาหลี  สถาบันดนตรีและนาฏศิลป์ตั้งอยู่ที่  เซียวโช-ดอง  ส่วนสถาบันอื่น ๆ อยู่ที่  ซอกกวาน-ดอง

ดนตรีญี่ปุ่น

   หลังจากที่ญี่ปุ่นเปิดประเทศติดต่อกับโลกภายนอก ราว ค.ศ. 1868 อิทธิพลของดนตรีจากภายนอกเช่น จีน เกาหลี อินเดียและดนตรีตะวันตก ได้เข้าไปมีอิทธิพลต่อดนตรีญี่ปุ่น ทำให้ดนตรีญี่ปุ่นแบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ ดนตรีดั้งเดิม ดนตรีคลาสสิกตะวันตก และดนตรีสมัยใหม่
          การบรรเลงดนตรีและการแสดงประกอบดนตรีของญี่ปุ่น แบบดั้งเดิมที่ควรทราบมีดังนี้
 
  ดนตรีงากากุ (GAGAKU)
     ดนตรีงากากุ (GAGAKU) เป็นดนตรีที่บรรเลงประกอบบทเพลงที่ใช้ในราชสำนัก มีความสง่างาม ขณะบรรเลงต้องนั่งตัวตรง จังหวะไม่กำหนดตายตัว นักดนตรีจะต้องฟังกันเองภายในวง เครื่องดนตรีที่ใช้มีทั้งเครื่องสาย เครื่องลมไม้และเครื่องตีต่างๆ


ดนตรีราชสำนักญี่ปุ่น Gagaku

  ละครโนะ (NOH)
        ละครโนะ (NOH) เป็นศิลปะการแสดงชั้นสูงของญี่ปุ่น เกี่ยวข้องกับวรรณกรรมละคร การเต้นรำ และดนตรี เล่นเฉพาะในหมู่พวกซามูไร สังคมชั้นสูง เป็นละครที่มีแบบแผน ดนตรีที่ใช้ประกอบละครมีความสำคัญมาก มีทั้งการขับร้องเดี่ยว ขับร้องประสานเสียงและการบรรเลงดนตรีประกอบ ลักษณะของการบรรเลงดนตรีแบบมีจังหวะที่แน่นอนกับจังหวะที่ไม่แน่นอนพร้อม ๆ กันด้วยเครื่องดนตรีต่างชนิดกัน ทำให้เกิดรูปพรรณของดนตรีที่แปลกและน่าสนใจเครื่องดนตรีที่ใช้ในละครโนะมีเสียง 4ชิ้น คือ ขลุ่ยไม้ไผ่ 1 เลา สำหรับบรรเลงทำนองเพลง เครื่องดนตรีที่เหลือจะเป็นกลองชนิดต่างๆ 3 ชิ้น



  ละครบุนรากุ (BUNRAKU)
           ละครบุนรากุ (BUNRAKU) เป็นการแสดงละครหุ่นประกอบดนตรีที่มีชื่อเสียงของญี่ปุ่น ดนตรีที่ใช้บรรเลงประกอบละครหุ่นเรียกว่ากิดายุ (GIDAYU) วงเล็กที่สุดจะประกอบด้วยผู้แสดง2 คนคือ นักร้อง (TAYU) 1 คน และผู้ดีดซามิเซ็น 1 คน นักร้องจะต้องทำหน้าที่ทั้งพากย์และร้องเพลงไปด้วยกัน


  ละครคาบูกิ (KABUKI)
            ละครคาบูกิ (KABUKI) เป็นการแสดงละครเพื่อความสำราญ เดิมเล่นโดยหญิงบริการ ต่อมากำหนดให้ผู้ชายเล่นเท่านั้น เรื่องราวที่เล่นจะเกี่ยวกับเรื่องกึ่งประวัติศาสตร์และเรื่องราวของชีวิตผู้คนในสมัยเอโด(1603 – 1868) เครื่องดนตรีที่ใช้บรรเลงประกอบละครคาบูกิคือกลอง ขลุ่ย ซามิเซ็น และนักร้อง



  เครื่องดนตรีญี่ปุ่น
          ดนตรีญี่ปุ่นมีการพัฒนามาเป็นระยะเวลานาน มีการสร้างเครื่องดนตรีในแต่ละประเภทจำนวนมาก เครื่องดนตรีญี่ปุ่นที่เป็นที่รู้จักของชาวต่างชาติมี 4 ชนิดคือ

บีวา (BIWA) คือเครื่องดีดที่มีลักษณะคล้ายลูกแพร์ปรกติมี 4-5 สาย



โกโตะ (KOTO) คือเครื่องสายที่เล่นโดยการดีด มีสาย 13 สาย คล้ายกับเจงของจีน



ชากูฮาชิ (SHAKUHACHI) คือขลุ่ยไม้ไผ่มี 5 รู ความยาวของขลุ่ยจะมีเพียงขนาดเดียวคือ 54.5 ซม. ไม้ไผ่ที่นำมาใช้ทำขลุ่ยต้องมีข้อใหญ่ และระหว่างข้อไม้จะยาวกว่าปกติ ขณะเป่าขลุ่ยจะทำมุม 45 องศากับริมฝีปาก



ซามิเซ็น (SHAMISEN) คือเครื่องดีด 3 สาย ปกติจะเล่นประกอบนักร้อง เป็นเครื่องดนตรีที่สามารถนำมาบรรเลงได้ทั้งดนตรีพื้นบ้าน
 และดนตรีสมัยใหม่ถ้า บรรเลงร่วมกับโกโตะจะเรียกว่า SANGEN



ดนตรีจีน

ศิลปวัฒนธรรมดนตรีจีนมีประวัติความเป็นมายาวนานและมีความหลากหลายจากสภาพทางภูมิศาสตร์ที่กว้างขวาง
ในที่นี้จะกล่าวถึง เฉพาะกรณีดนตรีฮั่น (Cantonese Music) ซึ่งเป็นตัวแทนดนตรีขนบประเพณีของจีนมาตลอดเวลา

1. ยุคแรก (1766-256 B.C.) ราชวงศ์ซาง-โจว ดนตรีมีบทบาทต่อวิถีชีวิตคนอย่างใกล้ชิด พบหลักฐานทางโบราณคดีเกี่ยวกับเครื่องดนตรีในราชวงศ์ชางมาก เช่น ระฆังสำริด ระฆังราวหิน เครื่องเป่าจากกระดูกสัตว์ ในราชสำนักโจวเกิดการใช้ดนตรีในพิธีกรรมเซ่นไหว้บรรพบุรุษด้วยแนวคิดขงจื้อ ที่ระบุไว้ในตำราซือจิง(ว่าด้วยเรื่องบทกวีที่เกี่ยวข้องกับดนตรีในทั้ง จังหวะและทำนองขับร้อง) ปราชญ์ขงจื้อให้ความสำคัญกับเรื่องของการปลูกฝังคุณธรรมและจริยธรรมให้เกิด ในตัวบุคคลผ่านการศึกษาวิชาจารีตประเพณี (li) กวีนิพนธ์ (shis) และดนตรี (yueh) เชื่อว่าสังคมจะสงบสุขได้ด้วยองค์ความรู้ทั้งสามนี้ มีการตั้งกระทรวงการดนตรี พัฒนารูปแบบดนตรีราชสำนัก Ya-Yueh ตลอดจนการขับร้องและฟ้อนรำ

2. ยุคกลาง (221B.C.-907 A.D.) (ราชวงศ์จิ๋น-ฮั่น-สุย-ถัง) หลังจากราชวงศ์โจวเสื่อมอำนาจ ราชวงศ์จิ๋นขึ้นปกครองแทน หากแต่มีความวุ่นวายทางการเมืองและสงครามทำให้ดนตรีในสมัยนี้ไม่เด่นชัดนัก อีกทั้งมีการเผาหนังสือตำราชและประหารชีวิตนักปราชญ์ราชบัณฑิตจำนวนมาก ดนตรีขงจื๊อกลับมารุ่งเรืองอีกครั้งในสมัยราชวงศ์ฮั่น มีการตั้งระดับเสียงมาตรฐานในรัชกาลพระเจ้าวู่ตี่ ตั้งหน่วยดนตรีราชสำนักเย่ฟู่ รับผิดชอบงานพิธี งานบันเทิง เก็บรักษาโน้ต เนื่องจากความแข็งแกร่งทางอำนาจการเมืองที่สามารถขยายขอบเขตประเทศออกไป กว้างไกล ราชวงศ์ฮั่นรับอิทธิพลต่างประเทศมาก รับพุทธศาสนาจากอินเดีย รับดนตรีจากเขตตะวันออกกลางเข้ามาประสมและพัฒนามาเป็นเครื่องดนตรีประจำชาติ จีนในภายหลังเช่น พิณ ud สี่สายของเปอร์เซียกลายเป็นผีผา pipa สมัยราชวงศ์ถัง จีนมีดนตรีถึง 10 ประเภทด้วยกัน เช่น ดนตรีงานเลี้ยงรับรอง ดนตรีจากชนกลุ่มน้อย ชาวเขา จากอินเดีย เอเชียกลาง ยุคทอง คือสมัยพระเจ้าเสียงจง 712-756A.D. มีบันทึกว่ามีนักดนตรีอยู่ในเมืองฉางอันกว่า 10000 คน มีการแบ่งหมวดหมู่ดนตรีราชสำนักเป็นดนตรีพิธีขงจื๊อ ดนตรีการแสดง ดนตรีบรรเลง เครื่องดนตรีที่นิยมมากคือฉิน Qin สำหรับนักปราชญ์ฝึกฝนปัญญาสมาธิ นอกจากนี้ยังมีการก่อตั้งวิทยาลัยดนตรีหลีเหยิน (Li Yuen, Imperial Academy of Music) เป็นครั้งแรกในปี 714 ฝึกฝนบัณฑิตทางศิลปะการแสดงดนตรีอย่างจริงจัง

3. ยุคหลัง (960-1911A.D.) ราชวงศ์ซ้อง ดนตรีก้าวหน้ามาก แบ่งเป็นกลุ่มดนตรีพิธีกรรมขงจื๊อ Ya-Yueh, ดนตรียอดนิยม Su-Yueh, ดนตรีต่างประเทศ Hu-Yueh มีการแต่งเพลงเน้นเอกลักษณ์จีนมาก มีการปรับปรุงเครื่องดนตรีจากเอเชียกลาง เช่น ซอฮูฉิน มีการพัฒนารูปแบบดนตรีเพื่อใช้ในการละครจีนและการขับร้องพื้นเมือง ราชวงศ์หมิง มีการพัฒนาแนวคิดระบบเสียง equal temperament อย่างจริงจังโดยเจ้าชายไซหยู (Tsai-Yu 1596) ซึ่งส่งผลให้ทฤษฎีดนตรี จีนเข้มแข็งต่อมา ราชวงศ์ชิง มีการรับดนตรีตะวันตกในทางเพลงคริสตศาสนาและแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างนัก ดนตรีจีนกับยุโรปหลายคน เครื่องดนตรีแคน เช็ง sheng กลายเป็นที่รู้จักในยุโรปและมีผลต่อการพัฒนาออร์แกน ในขณะที่ขิม หยางฉิน Yang chin (จีนเรียกว่า “พิณฝรั่ง” foreign zither) เป็นเครื่องดนตรีที่นำเข้ามาจากฝ่ายยุโรปและพัฒนาวิธีการขึ้นเสียงตลอดจนการ บรรเลงให้เป็นจีนในที่สุด กลางราชวงศ์ชิงดนตรีโบราณของจีนเสื่อมคลาย ดนตรีตะวันตกเป็นที่ยอมรับมากในหมู่ชนชั้นกลางรุ่นใหม่

4. สมัยสาธารณรัฐ ราชวงศ์ชิงเสื่อม แมนจูเข้าช่วยปราบกบฏชาวนา-ยึดกรุงปักกิ่งเป็นราชธานี ช่วงหลังเกิดปัญหามาก ประเทศตะวันตกแผ่อิทธิพลเข้ามาในจีน เกิดสงครามฝิ่นกับอังกฤษ (1839-42) กบฏไตปิง (1850) สงครามญี่ปุ่น (1894) เกิดขบวนการอั้งยี่ การฉ้อราษฏรบังหลวง ฯลฯ จนกระทั่งพระเจ้าปูยีฮ่องเต้องค์สุดท้ายสละราชสมบัติ
ปี 1911จีนเข้าสู่ระบบการปกครองสาธารณรัฐและเป็นการสิ้นสุดประวัติศาสตร์อันยาว นานของดนตรีจีนราชสำนักด้วย เกิดความขัดแย้งระหว่างเก่า-ใหม่ คนรุ่นใหม่ ชนชั้นกลางสนับสนุนเรียนดนตรีตะวันตกกันมากขึ้น มีการตั้งภาควิชา ดุริยางคศาสตร์ในมหาวิทยาลัยปักกิ่งในปี 1923และโรงเรียนศิลปะดนตรีตะวันตกในเซี่ยงไฮ้ปี 1927 ดนตรีฝรั่งกลายเป็นแฟชั่นของปัญญาชนจีนยุคใหม่ในขณะนั้น ส่วนดนตรีแบบฉบับดั้งเดิมและเครื่องดนตรีแท้ๆของจีนกลับเป็นของป่าเถื่อนล้า สมัยไป บทเพลงเกิดใหม่ตั้งแต่ 1930 เป็นต้นมาใช้เทคนิคการประพันธ์และเรียบเรียงเสียงประสานแบบตะวันตก เครื่องดนตรีที่ใช้บรรเลงก็เป็นฝรั่งอย่างไม่มีทางเลี่ยง รูปแบบคีตนิพนธ์ที่ผลิตออกมามีทั้ง leider, sonata, concerto, symphony, choral และ opera แต่ก็ยังมีคีตกวีรุ่นใหม่บางคนพยายามที่จะหาวิธีประสมประสานระหว่างดนตรีจีน เก่ากับดนตรีตะวันตกเพื่อให้เป็นมาตรฐานใหม่ของวัฒนธรรมจีน นอกจากแนวคลาสสิก ดนตรีพ็อพก็เป็นที่เฟื่องฟูมากโดยเฉพาะในเขตเศรษฐกิจสำคัญคือเมืองเซี่ยงไฮ้ เรียกดนตรีพ็อพนี้ว่า Yellow music เนื้อหาประโลมโลกย์ เทคนิคการร้องแบบตะวันตก ทำนองช้าเนิบหวาน มีงานเพลงใหม่มากมายเล่นในบาร์ ไนต์คลับ งานเลี้ยงสังสรรค์ และมีบทบาทสืบเนื่องไปถึงอุตสาหกรรมภาพยนตร์ที่เกิดใหม่ในจีนด้วย

เมื่อถึงปี 1949 เหมา เจ๋อ ตุง เปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นสังคมนิยม คอมมิวนิสต์เข้าควบคุมงานทางวัฒนธรรม ย้อนไปเมื่อปี 1937 ประธานเหมาเคยได้กล่าวสุนทรพจน์ที่สภาปฏิวัติเยนอานเกี่ยวกับวรรณคดีและ ดนตรีว่าควรมีหน้าที่ประหนึ่งอาวุธอันทรงพลังที่จะสร้างเอกภาพและให้การ ศึกษาทางจิตสำนึกแก่ประชาชนเพื่อเอาชนะและทำลายล้างข้าศึกที่เป็นปฏิปักษ์ ต่อสังคมนิยม เมื่อปฏิวัติสำเร็จจึงเกิดการสนองตอบในเชิงสร้างสรรค์ดนตรีเน้นนโยบายศิลปะ รับใช้มวลชน mass music ดนตรีเพื่อสังคมนิยมและเพลงชาวบ้านมีบทบาทเด่นมากโดยเฉพาะช่วง 1949-64 เกิดวรรณกรรมเพลง Geming Guqu เพื่อรับใช้อุดมการณ์ทางการเมืองของพรรคคอมมิวนิสต์ และหันมาหาวิธีการปรับแนวตะวันตกในการรับใช้จีน สนับสนุนเพลงพื้นบ้าน เพลงปฎิวัติ เพลงเชิดชูสังคมนิยม กรรมาชีพ นิยมเพลงร้องหมู่-เพลงมาร์ชที่แสดงพลังมวลชน มากกว่าเพลงร้องเดี่ยวที่ สื่อศิลปะส่วนตัว งานอุปรากรจีนสดุดีนักรบประชาชนได้รับการสนับสนุนอย่างแข็งขัน รวมทั้งการปรับเปลี่ยนท่วงท่าของการแสดงที่อ่อนช้อยจากจีนเดิมมาสู่การ เคลื่อนไหวแนวขึงขังทรงพลังอย่างบัลเล่ต์รัสเซีย

5. ยุคปฏิวัติวัฒนธรรม The Cultural Revolution 1966-76 ประธานเหมาเจ๋อตุงรื้อฟื้นอำนาจตนเอง เป็นผู้นำการทำลายล้างปราบปรามบุคคลฝ่ายที่ยังคงคิดเห็นในทางตรงข้ามอย่าง รุนแรงด้วยการสนับสนุนเยาวชนเรดการ์ด กองกำลังติดอาวุธ และการดำเนินงานทางวัฒนธรรมการเมืองซ้ายสุดกู่ภายใต้แก็งค์สี่คน Gang of four ผู้มีบทบาทเด่นในการปรับปรุงระบบวัฒนธรรมคือภรรยาของประธานเหมา นางเจียง ชิง Jiang Qing งดเว้นดนตรีศักดินา (ดนตรีคลาสสิคตะวันตกและดนตรีราชสำนัก) สั่งปิดโรงเรียนและกิจการดนตรีตะวันตกไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมแผ่นเสียง สถานบันเทิง สลายคณะศิลปินพื้นบ้าน ยกเลิกประเพณีโบราณเช่นเทศกาลโคมและแข่งเรือ มีกรรมาธิการตรวจสอบงานแสดงต่อสาธารณะว่ามีความสอดคล้องกับนโยบายของรัฐหรือ ไม่เพียงไรไม่ว่าจะเป็นเนื้อร้องทำนองหรือท่าทางในการแสดง กล่าวได้ว่ายุคปฏิวัติวัฒนธรรมนี้เป็นยุคมืดของดนตรีจีนที่สุดยุคหนึ่ง

6. ดนตรีจีนยุคปัจจุบัน หลังจากมรณกรรมของประธานเหมา ขั้วอำนาจเก่าสลายตัวลง เติ้ง เสี่ยว ผิง เข้าปกครองแทน ปรับเปลี่ยนแนวทางการเมืองจีนไปในทางผ่อนปรนมากขึ้นรวมทั้งเปิดประตูความ สัมพันธ์กับนานาชาติอีกครั้ง รัฐบาลรุ่นหลังๆใส่ใจปฏิรูปการปกครองและพัฒนาคนในชาติในทุกๆทางอย่างได้ผล ระบบดนตรีเป็นอิสระมากขึ้น คีตกวีรุ่นใหม่ที่มีความสำนึกในชาติ สนใจหันกลับไปพัฒนาดนตรีจีนเดิมให้ทันสมัยมากขึ้น มีการขยายวงดนตรีจีนเดิมจากวงเล็กๆกลายเป็นออร์เคสตร้าขนาดใหญ่ เพิ่มเติมเครื่องดนตรีจีนที่มีสุ้มเสียงแตกต่างเข้าร่วมในวงจีนเดิม พัฒนาการบรรเลงให้มีความร่วมสมัยมากขึ้นจนเป็นที่ยอมรับทั่วโลก นอกจากนี้ยังมีการตั้งสมาพันธ์ดนตรีแห่งชาติยกย่องเชิดชูเกียรตินักดนตรีจีน เดิมให้เป็นที่ประจักษ์แก่สังคม
ส่วนดนตรีสากลก็ได้รับการเอาใจใส่อย่างดีจากรัฐบาล มีหน่วยงานการศึกษาที่มีประสิทธิภาพ จัดการแข่งขันทางดนตรีเพื่อผลิตบุคลากรที่มีฝีมือยอดเยี่ยมออกมามากมาย มีวงดนตรีสากลประจำรัฐ ประจำท้องถิ่น ประจำสถานีวิทยุโทรทัศน์ มีอุตสาหกรรมผลิตเครื่องดนตรีทุกประเภทส่งออกทั่วโลก

ศิลปินจีนยุคหลังที่มีชื่อเสียง เช่น เสียน ซิงไห่ xian xinghai(1905-45) แต่งเพลงแม่น้ำเหลือง Yellow River Cantata (ต่อมากลายเป็น Yellow River concerto), เฉิน กัง Chen gang และเหอ ซ่าน ห่าว He zhan hoแต่งเพลงบัตเตอร์ฟลายเลิฟเวอร์คอนแชร์โต้ the butterfly lovers concerto, หัว หยั่น จุ้น Hua Yan Jun (1893-1950) หรือ “อาปิง” Ah Bing อัจฉริยะตาบอด แต่งเพลงสำหรับซอเออร์หูจำนวนมาก, เติ้ง ลี จิน (Deng Li-Chun หรือ Theresa Deng) นักร้องเพลงสมัยนิยมจากไต้หวันซึ่งกลายมาเป็นที่นิยมมากในจีน, ตาน ดุน Tan Dun แต่งเพลงแนวก้าวหน้า (modern music) และเพลงประกอบภาพยนตร์ (film music) มีชื่อเสียงมากในปัจจุบัน, ซุย เจี๋ยน (Cui Jian) และ หู เต้เจี๋ยน (Hou Dejian) นักดนตรีร็อคหัวรุนแรงที่มีอิทธิพลต่อคนหนุ่มสาวยุคใหม่ของจีน

ดนตรีไทย

  เป็นศิลปะแขนงหนึ่งของไทย ได้รับอิทธิพลมาจาก ประเทศต่าง ๆ เช่น อินเดีย จีน อินโดนีเซีย และอื่น ๆ เครื่องดนตรีมี 4 ประเภท ดีด สี ตี เป่า



ประวัติ

      ในสมัยกรุงสุโขทัย ดนตรีไทยมีลักษณะเป็นการขับลำนำ และร้องเล่น วรรณคดี "ไตรภูมิพระร่วง" กล่าวถึงเครื่องดนตรี ได้แก่ ฆ้อง กลอง ฉิ่ง แฉ่ง (ฉาบ) บัณเฑาะว์ พิณ ซอ ปี่ไฉน ระฆัง กรับ และกังสดาล

       สมัยกรุงศรีอยุธยา มีวงปี่พาทย์ที่ยังคงรูปแบบปี่พาทย์เครื่องห้าเหมือนเช่นสมัยกรุงสุโขทัย แต่เพิ่มระนาดเอกเข้าไป นับแต่นั้นวงปี่พาทย์จึงประกอบด้วย ระนาดเอก ปี่ใน ฆ้องวงใหญ่ กลองทัด ตะโพน ฉิ่ง ส่วนวงมโหรีพัฒนาจากวงมโหรีเครื่องสี่ เป็นมโหรีเครื่องหก เพิ่มขลุ่ย และรำมะนา รวมเป็นมี ซอสามสาย กระจับปี่ ทับ (โทน) รำมะนา ขลุ่ย และกรับพวง

       ถึงสมัยรัตนโกสินทร์ เริ่มจากรัชกาลที่ 1 เพิ่มกลองทัดเข้าวงปี่พาทย์อีก 1 ลูก รวมเป็น 2 ลูก ตัวผู้เสียงสูง ตัวเมียเสียงต่ำ รัชกาลที่ 2 ทรงพระปรีชาสามารถการดนตรี ทรงซอสามสาย คู่พระหัตถ์คือซอสายฟ้าฟาด และทรงพระราชนิพนธ์เพลงไทย บุหลันลอยเลื่อน รัชสมัยนี้เกิดกลองสองหน้าพัฒนามาจากเปิงมางของมอญ พอในรัชกาลที่ 3 พัฒนาเป็นวงปี่พาทย์เครื่องคู่ มีการประดิษฐ์ระนาดทุ้มคู่กับระนาดเอก และฆ้องวงเล็กให้คู่กับฆ้องวงใหญ่

        รัชกาลที่ 4 เกิดวงปี่พาทย์เครื่องใหญ่พร้อมการประดิษฐ์ระนาดเอกเหล็ก และระนาดทุ้มเหล็ก รัชกาลที่ 5 สมเด็จฯ กรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ทรงคิดค้นวงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์ประกอบการแสดงละครดึกดำบรรพ์ ในรัชกาลที่ 6 นำวงดนตรีของมอญเข้าผสมเรียกวงปี่พาทย์มอญโดยหลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) มีการนำอังกะลุงเข้ามาเผยแพร่เป็นครั้งแรก และนำเครื่องดนตรีต่างชาติ เช่น ขิม ออร์แกนของฝรั่งมาผสมเป็นวงเครื่องสายผสม

ลักษณะ

          ลักษณะการประสานเสียงของดนตรีไทยตามแบบโบราณนั้น ใช้หลัก อาศัยสีเสียง (Tone color) ของเครื่องดนตรีเป็นเครื่องแยกแต่ละแนวทำนอง คือให้เครื่องดนตรีแต่ละชิ้นประสานเสียงกันแบบแนวนอน คือให้เสียงลูกตกตรงกัน มากกว่าประสานแบบแนวตั้งที่อาศัยคอร์ด (chord) เป็นพื้นฐานหลักตามแบบสากล

  ลีลาดนตรีไทย

         ลีลาเครื่องดนตรีไทย หมายถึงท่วงท่าหรือท่วงทำนองที่เครื่องดนตรีต่างๆได้บรรเลงออกมา สำหรับลีลาของเครื่องดนตรีไทยแต่ละเครื่องที่เล่นเป็นเพลงออกมา บ่งบอกถึงคุณลักษณะและพื้นฐานอารมณ์ที่จากตัวผู้เล่น เนื่องมาจากลีลาหนทางของดนตรีไทยนั้นไม่ได้กำหนดกฏเกณฑ์ไว้ตายตัวเหมือนกับดนตรีตะวันตก หากแต่มาจากลีลาซึ่งผู้บรรเลงคิดแต่งออกมาในขณะเล่น เพราะฉะนั้นในการบรรเลงแต่ละครั้งจึงอาจมีทำนองไม่ซ้ำกัน แต่ยังมี ความไพเราะและความสอดคล้องกับเครื่องดนตรีอื่นๆอยู่

         ลักษณะเช่นนี้ได้อิทธิพลมาตั้งแต่สมัยโบราณ ที่มี"กฎเกณฑ์" อยู่ที่การวาง "กลอน" ลงไปใน "ทำนองหลัก" ในที่นี้ หมายถึงในเพลงไทยเดิมนั้นเริ่มต้นด้วย "เนื้อเพลงแท้ๆ" อันหมายถึง "เสียงลูกตก" ก่อนที่จะปรับปรุงขึ้นเป็น "ทำนองหลัก" หรือที่เรียกว่า "เนื้อฆ้อง" อีกชั้นหนึ่ง ซึ่งในชั้นเนื้อฆ้องนี้ส่วนใหญ่จะยังคงเป็นทำนองห่างๆ ยังไม่มีความซับซ้อนมาก แต่ยังกำหนดลักษณะในการเล่นไว้ให้ผู้บรรเลงแต่ละคนได้บรรเลงด้วยลีลาเฉพาะของตนในกรอบนั้นๆ โดยลีลาที่กล่าวมาก็หมายถึง "กลอน" หรือ "หนทาง" ต่างๆที่บรรเลงไปนั่นเอง

วงดนตรีไทย

        ดนตรีไทยมักเล่นเป็นวงดนตรี มีการแบ่งตามประเภทของการบรรเลงที่เป็นระเบียบมาแต่โบราณกาลจนถึงปัจจุบันเป็น 3 ประเภท คือ

วงปี่พาทย์
        ประกอบด้วยเครื่องตีเป็นสำคัญ เช่น ฆ้อง กลอง และมีเครื่องเป่าเป็นประธานได้แก่ ปี่ นอกจากนั้นเป็นเครื่อง วงปี่พาทย์ยังแบ่งไปได้อีกคือ วงปี่พาทย์ชาตรี,วงปี่พาทย์ไม้แข็ง,วงปี่พาทย์เครื่องห้า,วงปี่พาทย์เครื่องคู่,วงปี่พาทย์เครื่องใหญ่,วงปี่พาทย์ไม้นวม,วงปี่พาทย์มอญ,วงปี่พาทย์นางหงส์

วงเครื่องสาย
       เครื่องสาย ได้แก่ เครื่องดนตรี ที่ประกอบด้วยเครื่องดนตรีที่มีสายเป็นประธาน มีเครื่องเป่า และเครื่องตี เป็นส่วนประกอบ ได้แก่ ซอด้วง ซออู้ จะเข้ เป็นต้น ปัจจุบันวงเครื่องสายมี 4 แบบ คือ วงเครื่องสายเครื่องเดี่ยว,วงเครื่องสายเครื่องคู่,วงเครื่องสายผสม,วงเครื่องสายปี่ชวา

วงมโหรี
       ในสมัยโบราณเป็นคำเรียกการบรรเลงโดยทั่วไป เช่น "มโหรีเครื่องสาย" "มโหรีปี่พาทย์" ในปัจจุบัน มโหรี ใช้เป็นชื่อเรียกเฉพาะวงบรรเลงอย่างหนึ่งอย่างใดที่มีเครื่อง ดีด สี ตี เป่า มาบรรเลงรวมกันหมด ฉะนั้นวงมโหรีก็คือวงเครื่องสาย และวงปี่พาทย์ ผสมกัน วงมโหรีแบ่งเป็น วงมโหรีเครื่องสี่,วงมโหรีเครื่องหก,วงมโหรีเครื่องเดี่ยว หรือ มโหรีเครื่องเล็ก,วงมโหรีเครื่องคู่

เวิลด์มิวสิก

เวิลด์มิวสิก (อังกฤษ: World music) มีความหมายถึงเพลงท้องถิ่นหรือเพลงโฟล์กในวัฒนธรรมต่าง ๆ ที่สร้างสรรค์และเล่นโดยนักดนตรีท้องถิ่น
ในทางตะวันตก คำว่า "เวิลด์มิวสิก" จะหมายถึงดนตรีที่ไม่ใช่ดนตรีจากอเมริกาเหนือและดนตรีป็อปอังกฤษ หรือเป็นดนตรีโฟล์กท้องถิ่น หรือดนตรีที่รวมเพลงท้องถิ่นหลายอย่าง ตัวอย่างของแนวเพลงเช่น ดนตรีเร้กเก้ในจาเมกาหรือลาตินป็อป เป็นต้น ที่เติบโตจนแยกเป็นแนวเพลงเฉพาะ เพลงจีนหรือเพลงท้องถิ่นแอฟริกัน ก้ถูกจำแนกว่าเป็นเวิลด์มิวสิกเช่นกัน

ดนตรีร็อก

ร็อก (อังกฤษ: Rock) เป็นแนวเพลงที่ได้รับความนิยมในกระแสหลักในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1960 มีต้นกำเนิดจากดนตรีร็อกแอนด์โรล ริทึมแอนด์บลูส์ ดนตรีคันทรีในคริสต์ทศวรรษ 1940 และ 1950 รวมถึงเพลงแนวโฟล์ก แจ๊ซและดนตรีคลาสสิก
ดนตรีเพลงร็อกมันวงไปด้วยเสียงกีตาร์แบบแบ็กบีตจากส่วนจังหวะของกีตาร์เบสไฟฟ้า กลองและคีย์บอร์ด อย่างออร์แกน เปียโน หรือตั้งแต่ช่วงคริสต์ทศวรรษ 1970 ก็มีการใช้เครื่องสังเคราะห์เสียง ร่วมไปกับกีตาร์และคีย์บอร์ด ยังมีการใช้แซกโซโฟน และฮาร์โมนิกาในแบบบลูส์ก็มีใช้บ้างในท่อนโซโล่ ในรูปแบบร็อกบริสุทธิ์แล้ว ใช้ 3 คอร์ด จังหวะแบ็กบีตที่แข็งแรงและหนักแน่น รวมถึงมีเมโลดี้ติดหู[1]
ในช่วงปลายคริสต์ทศวรรษ 1960 และต้นคริสต์ทศวรรษ 1970 เพลงร็อกพัฒนาจนแตกแยกย่อยเป็นหลายแนวเพลง และเมื่อรวมกับเพลงโฟล์กแล้วจึงเป็น โฟล์กร็อก รวมกับบลูส์เป็น บลูส์-ร็อก รวมกับแจ๊ซเป็น แจ๊ซ-ร็อก ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1970 ร็อกยังเกี่ยวข้องกับเพลงโซล ฟังก์และละติน เช่นเดียวกันในยุคนี้ร็อกยังได้เกิดแนวเพลงย่อยอีกหลายแนวเช่น ซอฟต์ร็อก เฮฟวีเมทัล ฮาร์ดร็อก โพรเกรสซีฟร็อกและพังก์ร็อก ส่วนแนวเพลงย่อยร็อกที่เกิดขึ้นในคริสต์ทศวรรษ 1980 เช่น นิวเวฟ ฮาร์ดคอร์พังก์และอัลเทอร์เนทีฟร็อก ในยุคคริสต์ทศวรรษ 1990 แนวเพลงย่อยที่เกิดเช่น กรันจ์ บริตป็อป อินดี้ร็อกและนูเมทัล
มีวงร็อกส่วนใหญ่ประกอบด้วย สมาชิกที่เล่นกีตาร์ไฟฟ้า นักร้องนำ กีตาร์เบสและกลอง ก่อตั้งเป็นวง 4 ชิ้น มีบางวงที่มีสมาชิกน้อยกว่าหรือมากกว่า ตำแหน่งเล่นดนตรีบางคนก็ทำหน้าที่ร้องก็มี ในบางครั้งอาจเป็นวง 3 คนหรือวงดูโอซึ่งอาจมีนักดนตรีเสริมเข้ามาอย่างกีตาร์ริธึมหรือคีย์บอร์ด บางวงอาจมีการใช้เครื่องดนตรีสายอย่างไวโอลิน เชลโล หรือเครื่องเป่าอย่าง แซกโซโฟน หรือทรัมเปตหรือทรอมโบน แต่มีวงไม่มากนักที่ใช้

ดนตรีคลาสสิค

เพลงคลาสสิก (อังกฤษ: Classical music) เป็นรูปแบบหนึ่งของดนตรี ซึ่งมักจะหมายถึงดนตรีที่เป็นศิลปะของตะวันตก
การแสดงดนตรีคลาสสิกจะใช้เครื่องดนตรี 4 กลุ่ม กลุ่มแรก คือ เครื่องสาย (String) แบ่งออกเป็น ไวโอลิน วิโอลา เชลโล และดับเบิลเบส กลุ่มที่สอง คือ เครื่องลมไม้ (Woodwind) เช่น ฟลูต คลาริเน็ต โอโบ บาสซูน ปิคโคโล กลุ่มที่สาม คือ เครื่องลมทองเหลือง (Brass) เช่น ทรัมเป็ต ทรอมโบน ทูบา เฟรนช์ฮอร์น กลุ่มที่สี่ คือ เครื่องกระทบ (Percussion) เช่น กลองทิมปานี ฉาบ กลองใหญ่ (Bass Drum) กิ๋ง (Triangle) เมื่อเล่นรวมกันเป็นวงเรียกว่าวงดุริยางค์หรือ ออร์เคสตรา (Orchestra) ซึ่งมีผู้อำนวยเพลง (conductor) เป็นผู้ควบคุมวง


เพลงแจ๊ส

แจ๊ส (อังกฤษ: Jazz) เป็นลักษณะดนตรีชนิดหนึ่งที่พัฒนามาจากกลุ่มคนดำในสหรัฐอเมริกา (African Americans) ในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 20 โดยมีลักษณะพิเศษคือโน้ตบลูส์ การลัดจังหวะ จังหวะสวิง การโต้และตอบทางดนตรี และการเล่นสด โดยเพลงแจ๊สถือเป็นลักษณะดนตรีคลาสสิกชนิดหนึ่งของสหรัฐอเมริกา




ความหมายของคำว่าแจ๊ส เคยมีผู้พยายามนิยามความหมายไว้หลายแบบ ซึ่งยากต่อการนิยาม ตามความหมายของคำว่าแจ๊สในในพจนานุกรมไทยวัฒนาพานิช โดย วิทูลย์ สมบูรณ์ หมายถึง ดนตรีเต้นรำเล่นลัดจังหวะ, เล่นดนตรีชนิดนี้, เต้นรำ เข้ากับดนตรีชนิดนี้ สำหรับพจนานุกรมฉบับอ๊อกฟอร์ดให้คำจำกัดความไว้ว่า "เป็นดนตรีที่ถือกำเนิดจากชาวอเมริกันเชื้อสายแอฟริกันซึ่งมีจังหวะชัดเจนที่เล่นอย่างอิสระโดยการประสานกันขึ้นเองของนักดนตรีในขณะที่กำลังบรรเลง"
ดุ๊ก เอลลิงตันเคยพูดไว้ว่า "แจ๊สก็คือดนตรีทั้งหมดรวมกัน" ซึ่งก็มีนักวิจารณ์พูดว่า เอลลิงตันนั้นจริงๆ แล้วเขาไม่ได้ทำดนตรีแจ๊ส เพื่อนของเอลลิงตันอีกคนชื่อ เอิร์ล ไฮนส์ กล่าวไว้ว่า มันคือ "ดนตรีเปลี่ยนรูป" ส่วนเบน แรตลิฟฟ์ นักวิจารณ์จากนิวยอร์กไทม์สเคยกล่าวไว้ว่า "ตัวอย่างที่ดีที่จะอธิบายขั้นตอนของแจ๊สมันไม่มีเลย"